5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคน้ำกัดเท้า

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคน้ำกัดเท้า

          แม้ว่าหน้าฝนจะหมดไปแล้ว แต่โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) หรือฮ่องกงฟุต ก็ยังคงเป็นโรคพื้นฐานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? เราชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้

โรคน้ำกัดเท้าเป็นได้แม้ไม่ลุยน้ำท่วม

            หลายคนอาจคิดว่า ไม่ได้ลุยน้ำท่วมก็คงไม่เป็นโรคน้ำกัดเท้าหรอกมั้ง แต่ความจริงแล้ว แค่สัมผัสกับที่ที่มีความชื้นนานๆ เช่น สระว่ายน้ำ ห้องน้ำที่สกปรก สวมรองเท้าและถุงเท้าที่อับชื้นเหงื่อ เป็นต้น ก็เสี่ยงเป็นโรคน้ำกัดเท้าได้ เพราะเชื้อราที่เป็นเชื้อก่อโรคอย่างสายพันธ์ Dermatophytes สามารถเจริญเติบโตได้ดีในความเปียกชื้น ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำท่วมขังบนถนนเสมอไป แค่คนเราไปสัมผัสโดนเข้า เชื้อราก็จะแพร่กระจายสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว

โรคน้ำกัดเท้าต้องไม่ใช้ของร่วมกัน

            โรคน้ำกัดเท้าสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ผ่านสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน เช่น ถุงเท้า รองเท้า พรมเช็ดเท้า ผ้าขนหนู ผ้าห่ม ฯลฯ หากรู้ว่าคนในครอบครัวกำลังเป็นโรคนี้ หรือไม่มั่นใจว่าตนเองกำลังเสี่ยงที่จะเป็นหรือเปล่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของเหล่านี้ร่วมกัน หรือถ้าเป็นไปได้ ควรแยกกันใช้ไปเลยจะดีที่สุด เพื่อสุขอนามัยที่ดี

โรคน้ำกัดเท้ามี 2 ระยะ

            ความสงสัยที่พบได้บ่อยเกี่ยวโรคน้ำกัดเท้า คือ อาการของโรค เพราะบางคนจะมีแค่อาการคัน และผิวหนังลอก แต่บางคนมีทั้งคัน ผิวลอก และมีกลิ่นเหม็นที่เท้าด้วย ซึ่งสาเหตุที่เป็นแบบนั้น เนื่องจากโรคนี้สามารถแบ่งอาการได้เป็น 2 ระยะ

1. ระยะเริ่มต้น จะมีเพียงอาการอักเสบและระคายเคือง คันและแสบผิวหนัง ผิวหนังแดง ลอก เท้าเปื่อย โดยที่ยังไม่มีการติดเชื้อ

2. ระยะที่สอง หรือเรียกว่าระยะติดเชื้อแทรกซ้อน เท้าของผู้ป่วยจะเริ่มมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย เพราะเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราประเภทต่างๆ แพร่กระจายเข้าสู่แผล

ทุกส่วนของร่างกายเป็นโรคน้ำกัดเท้าได้

            ส่วนใหญ่แล้ว โรคน้ำกัดเท้ามักจะเป็นที่บริเวณซอกนิ้วเท้า เพราะเป็นมุมอับที่เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดี แต่ข้อควรรู้คือ เชื้อก่อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น ฝ่าเท้า นิ้วมือ แขน ขา เป็นต้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่สัมผัสโดนเชื้อรา ความชื้น และการทำความสะอาดร่างกายที่ไม่ดีพอ

รักษาโรคน้ำกัดเท้าด้วยยาทาต้านเชื้อรา

            วิธีที่ง่ายที่สุดในการดูแลรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ การทำความสะอาดเท้าหรืออวัยวะที่เป็นโรคให้สะอาด และปราศจากความชื้นอยู่เสมอ แต่ถ้าทำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ใช้ยาทาภายนอกที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราควบคู่ไปด้วย เช่น

1. ZEMA CREAM ที่มีส่วนผสมของ Clotimazole ยาฆ่าเชื้อราออกฤทธิ์กว้าง ใช้สำหรับรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

2. ZEMA X CREAM ครีมที่มีส่วนผสมของ Clotimazole และ Betamethasone ช่วยบรรเทาอาการบวม แดง คัน ที่ผิวหนัง

3. EU 2000 ประกอบด้วยตัวยา Terbinafine Hydrochloride 1% ช่วยรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา Dermatophytes โดยเฉพาะ

4. COMAZOL ยาทารูปแบบกระปุก ที่มีส่วนผสมของ Clotimazole ช่วยฆ่าเชื้อราที่ผิวหนัง

ข้อควรรู้ ยาทาเหล่านี้สามารถหาซื้อเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยเบาหวาน มีโรคเรื้อรังอื่นๆ หรือกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา       

            ทั้งนี้ หากรักษาสุขอนามัยควบคู่กับทายาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 – 4 สัปดาห์แล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโรคน้ำกัดเท้าด้วยวิธีอื่นต่อไป

June Henry

Related Posts

Read also x