ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี

เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า ทุกวันนี้ทำไมเราต้องเสียเงินเดือนส่วนหนึ่งในทุกๆ ปีให้กับรัฐซึ่งนั้นก็คือ “เงินภาษี” กันนะ บางท่านก็อาจจะเสียไม่มาก แต่บางท่านก็เสียหลายบาทเลยก็ว่าได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนเป็นหลัก วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไป “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี” กันสักหน่อยเพื่อเป็นความรู้ติดตัวกันครับ

ภาษีคืออะไร?

ภาษี(Tax) คือ  เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข ในความหมายของภาษีเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ภาษีทางตรง คือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงไม่สามารถผลักภาระไปให้กับบุคคลอื่นอาทิ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

2. ภาษีทางอ้อม คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ต้องรับภาระ สามารถที่จะผลักภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ทำไมเราต้องเสียภาษี

ภาษีอากรเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องจ่ายหรือชำระให้แก่รัฐตามรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะเป็นรายได้ให้รัฐได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์โอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและบุคคลอื่นๆ ในสังคมสืบไป แม้ภาษีอากรจะเป็นการบังคับจัดเก็บ แต่หากตั้งใจให้เป็นการบริจาคเพื่อการกุศล ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอีกทางหนึ่งนั้นเองครับ

การยื่นภาษีการค้าทำอย่างไรบ้าง?

หลังจากทำการค้าขายของเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหมายนั้น  รายได้จากร้านค้าทั้งส่วนที่ได้รับจากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีก็ต้องยื่นแบบนำภาษีเงินได้ ต่อไป

หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี

–           ยื่นภาษีครึ่งปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ยื่นภายในเดือนกันยายน และ
–           ยื่นประจำปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี

–           คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี
–           คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท

ประโยชน์จากเงินภาษีที่ภาครัฐนำไปใช้

●เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้ภาครัฐบาล เงินภาษีเหล่านี้จะถูกใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อประชาชน
●สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
●อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
●สวัสดิการค่าเล่าเรียน
●สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

โทษของการเลี่ยงภาษีที่คุณควรรู้

จงใจหลีกเลี่ยงภาษี จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

ละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

ชำระภาษีไม่ครบ ต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ และต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

โอโห “ภาษี” เป็นทั้งหน้าที่และสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเหมือนกันนะครับเนี่ย หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ความรู้ติดตัวกันไปบ้างนะครับ

June Henry

Related Posts

Read also x