กฏหมายแรงงานที่ท่านควรรู้

กฏหมายแรงงานที่ท่านควรรู้

กราบสวัสดีท่านผู้อ่านที่อยู่ในวัยทำงานทุกๆ ท่านที่กำลังมองหาความรู้เกี่ยวกับ “กฏหมายแรงงาน” ทุกๆ ท่านด้วยนะครับ ซึ่งสิ่งที่ท่านสนใจนั้นเป็นอะไรที่สำคัญกับคนวัยทำงานอย่างเราๆ เป็นอย่างมากและควรมีความรู้ด้านนี้เอาไว้ติดตัวเผื่อต้องใช้ในอนาคต วันนี้เราจึงอยากพาทุก ท่านไปพบกับ “กฏหมายแรงงานที่ท่านควรรู้” กันสักหน่อยครับ

กฏหมายแรงงานเป็นอย่างไร?

กฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ อย่าง ดังเช่น

●การลาป่วย สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม

●การลากิจ (ธุระอันจำเป็น) การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้

●การลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

ชั่วโมงหรือวันทำงานตามกฎหมายกำหนดเป็นอย่างไร?

– วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
– กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์

– ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์ – กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน
– กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี

ในหนึ่งวันห้ามทำงานเกินกี่ชั่วโมง

กฎหมายแรงงานได้กำหนดเวลาทำงานไว้ตามประเภทของงานที่ลูกจ้างทำ ซึ่งแต่ละประเภทของงานก็จะมีระยะเวลาทำงานที่แตกต่างกันด้วย คือ

●งานทั่วไป กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงานเอาไว้ไม่เกิน 8 ชั่วโมต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่เรื่องจะเริ่มงานเมื่อไหร่หรือเลิกกี่โมงอยู่ที่นโยบายของบริษัทเลยว่ากำหนดไว้อย่างไร

●งานอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง กฎหมายกำหนดเวลาทำงานไว้ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งงานที่จัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น งานเชื่อมโลหะ งานเกี่ยวกับสารเคมี

และนี้ก็คือ “กฏหมายแรงงานที่ท่านควรรู้” ที่น่าสนใจและเป็นเกล็ดความรู้ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

June Henry

Related Posts

Read also x