เอกสารสำคัญที่แรงงานต้างด้าวต้องมี

เอกสารสำคัญที่แรงงานต้างด้าวต้องมี

เมื่อเราถึงการทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วนั้น “แรงงาน” คือสิ่งที่จำเป็นและมีความต้องการสูงมาก การมีกำลังพลที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดำเนินการได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้แรงงานจากภายในประเทศเพียงแห่งเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการผลิตต่างๆ จึงต้องมีการจ้างงาน “แรงงานข้ามชาติ” เพื่อมาทำงานต่างๆ มากขึ้น บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติ” หรือที่เราเรียกกันว่า “แรงงานต่างด้าว” กันครับ

แรงงานข้ามชาติคืออะไร?

แรงงานต่างด้าว คือ บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศ ส่วนแรงงานต่างชาติ MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้นนายจ้างจะต้องยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนแรงงานและระบุสัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการให้ชัดเจน ขั้นตอนต่อไปกระทรวงแรงงานจะประสานงานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ช่วยประกาศรับสมัครคนงาน เมื่อได้คนงานแล้ว ประเทศต้นทางจึงจะส่งรายชื่อ (Name List) มาให้ทางไทยอนุมัติต่อไป

นำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ดีอย่างไร ?

การนำเข้าแรงงานภายใต้ข้อตกลง MOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้ พร้อมทั้งยังช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ ได้อีกด้วย โดยนำเข้าแรงงาน MOU มีข้อดีดังนี้

●แรงงานที่เข้ามาทำงาน เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย

●สามารถนำเข้ามาได้จำนวนมาก

●นายจ้างสามารถกำหนดจำนวนแรงงานที่ต้องการได้

●เสียค่าใช้จ่ายน้อย

●ไม่มีความเสี่ยง

เอกสารสำคัญที่แรงงานข้ามชาติ(ต่างด้าว) ต้องมี

แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจะประกอบด้วยเอกสาร 4 อย่าง

●หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ

●ตรวจลงตราอนุญาตเข้าประเทศไทย (VISA) ที่ยังไม่หมดอายุ

●ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงาน ที่ยังไม่หมดอายุ ต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน

●บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ซึ่งด้านหลังเป็นใบอนุญาตทำงาน และยังไม่หมดอายุ (ถ้าแรงงานนำเข้า MOU จะไม่มีบัตรชมพู)

แรงงานต่างด้าว MOU เปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่

เมื่อเข้ามาทำงานในประเทศแล้ว แรงงานต่างด้าว MOU ทั้ง 3 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้

●นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต

●นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง

●นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้างหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

●นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว

●สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานอาจจะมีอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัยหรือชีวิตของลูกจ้าง

●นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเก่า     

หากแรงงานประสงค์จะขอเปลี่ยนนายจ้างโดยมีเหตุผลสอดคล้องกับด้านบน ลูกจ้างสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยต้องมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิมและให้นายจ้างใหม่ดำเนินการแจ้งเข้าทำงานภายใน 15 วัน ซึ่งต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ประกอบ ซึ่งได้แก่ แบบฟอร์มแจ้งคนต่างด้าวออกจากงาน, สําเนาบัตรสีชมพู หรือ E-Work Permit, สําเนาหนังสือเดินทางของต่างด้าว, กรณีนิติบุคคล ต้องเตรียมหนังสือรับรองไม่เกิน 3 เดือน สําเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของนายจ้างเดิม, กรณีบุคคลธรรมดา นายจ้างเดิมต้องเตรียมสําเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน, หนังสือมอบอํานาจให้คนไทยมาดําเนินการ กรณีนายจ้างเดิมไม่ดําเนินการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ  “แรงงานต่างด้าว” ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

June Henry

Related Posts

Read also x