แนวโน้มอุตสาหกรรมแรงงานไทยในอนาคต

แนวโน้มอุตสาหกรรมแรงงานไทยในอนาคต

อุตสาหกรรมต่างๆ คือสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับทุกๆ คน เสริมสร้างอาชีพแบบซัพพลายเชนที่จะมีทั้งต้นน้ำไปจนถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ จึงทำให้เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักให้กับระดับประชาชนไปจนถึงภาครัฐ การให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งที่รัฐควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาจากด้านบริหาร การศึกษา การเกษตรและสาธารณสุข บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “แนวโน้มอุตสาหกรรมแรงงานไทยในอนาคต” ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง  เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปดูกันดีกว่าครับ

อุตสาหกรรมคืออะไรและเป็นอย่างไรบ้าง?

อุตสาหกรรม เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุด

อุตสาหกรรมแบ่งเป็นกี่ประเภท

การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้   เป็นเกณฑ์  แยกได้  2  ประเภท คือ

1.  อุตสาหกรรมสินค้าทุน  หมายถึง  อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ของโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ  เช่นการทำเครื่องจักร เครื่องมือ  การถลุงโลหะ  อุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมฟอกหนัง  เป็นต้น

2.  อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค  หมายถึง  อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชน นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป  และของใช้ในครัวเรือนการแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิต   เป็นเกณฑ์  จะแบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

1.  อุตสาหกรรมเบื้องต้น  หรืออุตสาหกรรมที่ 1  เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการ อย่างอื่น  เช่น  การกสิกรรม  การประมง  การทำเหมืองแร่

2.  อุตสาหกรรมที่  2  เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป  เช่น การทำอาหารกระป๋อง   การสีข้าว

3.  อุตสาหกรรมที่  3  เป็นกิจการด้านบริการ  เช่น การขนส่ง  การโรงแรม การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะและขนาดของกิจการ  เป็นเกณฑ์  จะแบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

1.  อุตสาหกรรมขนาดใหญ่  หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์ และ เงินลงทุนสูงมาก  เช่นอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า

2.  อุตสาหกรรมขนาดย่อม  หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์ ตลอดจน เงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  เช่น  อุตสาหกรรมน้ำตาล

3.  อุตสาหกรรมในครัวเรือน  หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัว ในบ้านที่อยู่อาศัย เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ

แนวโน้มของอุตสาหกรรมในไทย

จากข้อมูล ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบโควิดที่เกิดขึ้น ไม่ต่างกันมาก แต่สถานการณ์โควิดระบาดรุนแรงทั่วโลก และไตรมาส 3- 4 ค่อยฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ดีเท่ากับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่ไม่มีสถานการณ์โควิด แต่ก็ยังมีโรงงานขนาดเล็ก ๆ เที่ส่วนหนึ่งใช้แรงงานต่างด้าวปิดตัวลงไปบ้าง ส่วนโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ไม่ได้ปิด แต่มีการดาวน์ไซส์ธุรกิจ และปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่ออยู่รอดต่อไปครับ

5 สินค้าส่งออกของประเทศไทย

สามารถยกตัวอย่างตามข้อมูลการส่งออกสินค้าของประเทศไทยได้ดังต่อไปนี้

●รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 180,369.7 ล้านบาท คิดเป็น 10.6 เปอร์เซ็นต์

●เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 130,652. ล้านบาท คิดเป็น 7.7 เปอร์เซ็นต์

● น้ำมันสำเร็จรูป 89,127.7 ล้านบาท คิดเป็น 5.2 เปอร์เซ็นต์

● ยางพารา 71831.7 ล้านบาท คิดเป็น 4.2 เปอร์เซ็นต์

●เม็ดพลาสติก 69,751.5 ล้านบาท คิดเป็น 4.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลที่เกี่ยวกับ “แนวโน้มอุตสาหกรรมแรงงานไทยในอนาคต” พร้อมกับข้อมูลความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่าน หวังว่าจะช่วยเสริมเป็นความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมกันนะครับ สุดท้ายนี้อุตสาหกรรมของไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ต้องติดตามกันต่อไปครับ

June Henry

Related Posts

Read also x